Sat. Apr 27th, 2024
0 0
Read Time:3 Minute, 6 Second

จากกรณี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว วิพากษ์วิจารณ์ กรณีที่ประชุมรัฐสภามีมติเสียงข้างมากว่าญัตติเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โหวตนายกรัฐมนตรีอีกรอบ เป็นญัตติที่ตกไปแล้ว ไม่สามารถเสนอชื่อซ้ำได้ ว่าเป็นการเอาข้อบังคับการประชุมมาทำให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเป็นง่อย

พร้อมบอกด้วยว่า การตีความของรัฐสภาไม่เป็นที่สุด คนที่คิดว่าสิทธิของตนถูกกระทบ ไปยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินได้ว่ามติรัฐสภาซึ่งเป็นการกระทำทางนิติบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญ

โดยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 213 บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคําร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคําวินิจฉัยว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 7 บัญญัติ ให้ศาลมีหน้าที่และอํานาจพิจารณาวินิจฉัยคดี (11)คดีที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ร้องขอว่าการกระทํานั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ประกอบมาตรา 46 ระบุว่า บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้อันเนื่องจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้น ย่อมมีสิทธิยื่นคําร้องขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยคดีตามมาตรา 7 (11) ได้

ทั้งนี้มีการกำหนดขั้นตอนการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้ว่า จะต้องยื่นคําร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเสียก่อน ภายใน 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพดังกล่าว เว้นแต่การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นยังคงมีอยู่ก็ให้ยื่นคําร้องได้ตราบที่การละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพนั้นยังคงมีอยู่

โหวตนายก : “บวรศักดิ์” ซัดรัฐสภา อ้างข้อบังคับทำ รธน.เป็นง่อย ชี้ช่องร้องตีความ

โหวตนายก : "จาตุรนต์" ชี้มติไม่เสนอชื่อ "พิธา" ซ้ำทำลายเจตนารมย์ ปชช. ขัดรธน.

สอนมวย! "สมชัย"เผย กกต.เคยถูกเสนอชื่อซ้ำใน สนช. เหตุรธน.ไม่เขียนห้าม

โดยในขั้นตอนนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณายื่นคําร้องต่อศาลพร้อมด้วยความเห็นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รับคําร้องจากผู้ร้อง โดยให้ผู้ตรวจการแผ่นดินแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ร้องทราบภายในเวลา 10 วัน และในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคําร้องให้ศาล หรือไม่ยื่นคําร้องภายในกําหนดเวลา ผู้ถูกละเมิดมีสิทธิยื่นคําร้องโดยตรงต่อศาลได้

ทั้งนี้ผู้ถูกละเมิดจะต้องยื่นคําร้องต่อศาลภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือวันที่พ้นกําหนดเวลาที่ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคําร้องต่อศาล (ภายใน 60 วันนับแต่วันที่รับคําร้อง)

โดยผู้ถูกละเมิดจะต้องต้องระบุการกระทําที่อ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของตนโดยตรงให้ชัดเจนว่าเป็นการกระทําใดและละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพของตนอย่างไร

อย่างไรก็ตามในมาตรา 46 ยังระบุอีกว่า ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคําร้องไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลจะไม่รับคําร้องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้ และถ้าศาลเห็นว่าเป็นกรณีต้องห้ามตามมาตรา 47 ให้ศาลสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณา

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin