Sun. May 5th, 2024
0 0
Read Time:6 Minute, 42 Second

“ทักษะที่แม่ฟ้าหลวงฯ มีในวันนี้ จะทำอย่างไร? ที่จะสามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ ทั้งการสร้างรายได้ให้กับมูลนิธิฯ การสร้างอิมแพ็คให้กับชุมชนและสังคม และการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นได้” ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวไว้ระหว่างพาคณะสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย เมื่อต้นเดือน ก.พคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต. ที่ผ่านมา พร้อมอัปเดตการดำเนินงานของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงภารกิจใหม่ อย่าง…การเป็นที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน ที่ถือเป็น “เดอะแบก” ที่สำคัญ เพื่อดูแลองค์กรให้เดินหน้าต่อไปให้ได้

พัฒนาการศึกษาในอนาคต

ม.ล.ดิศปนัดดา เล่าให้ฟังว่า การพัฒนาพื้นที่ดอยตุง เข้ามาสู่ยุคการพัฒนาคนรุ่นที่ 4 แล้ว โดยดอกผลที่ออกมาหากเปรียบเหมือนนักวิ่ง ณ เวลานี้ ท้ายแถว 25% ได้วิ่งมาอยู่หัวแถวแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องยากท่ามกลางปัจจัยสารพัด ที่ต้องหาอาชีพที่ต้องการพร้อมกับสร้างทักษะให้เขาเหล่านั้นไปถึงจุดนั้นให้ได้ โดยเรื่องของการพัฒนาด้านการศึกษา ที่นำวิธีการสอนแบบ มอนเตสซอรี่ (Montessori) จากตะวันตก มาปรับใช้โดยให้เด็กได้เรียนรู้จากเรื่องที่สนใจสิ่งที่ชอบด้วยตัวเอง แม้ทุกวันนี้ไปได้ดี แต่ก็ต้องมองในระยะยาวด้วยว่าจะไปต่ออย่างไร เพราะความเสี่ยงเรื่องของ “ครู” มีอยู่ไม่น้อยทีเดียว

“หากต้องการยกระดับฐานการศึกษาแต่ต้องขาดความต่อเนื่องจากการเปลี่ยนครูผู้สอนบ่อยครั้ง ก็ต้องมาดูว่าวิธีไหนที่ทำได้บ้างโดยไม่ต้องพึ่งพาครู โดยเฉพาะการปรับรูปแบบการเรียนการสอนผ่านครูที่มีความรู้ในโรงเรียน เป็นการสอนผ่านระบบคอมพิวเตอร์แทน ซึ่งถือเป็นฝัน..เป็นเกม เชนเจอร์ส ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อให้คนรุ่นที่ 4 เหล่านี้มีความมั่นคง มีรายได้ขั้นพื้นฐานจากที่เคยรับ 9,000 บาท ก็ก้าวกระโดดไปรับรายได้ที่ 18,000 บาท หรือ 20,000 บาท”

ต้องสร้างพลเมืองดี

ขณะที่คุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา กรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ กล่าวเสริมขณะที่ลงพื้นที่โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี ว่าเป้าหมายของแม่ฟ้าหลวงฯ ไม่ใช่สร้างแค่คนดีเท่านั้น แต่ต้องสร้าง “พลเมืองดี” ให้เขามีทักษะอาชีพไปเลี้ยงตัวเองได้ มีวิชาติดตัวและเข้าใจภาษาไทย เพราะการสร้างคนดี ก็จะได้คนดีเพียงแค่หนึ่งคน แต่หากเราสร้างพลเมืองดี ก็จะสร้างอิมแพ็คสำคัญต่อสังคม โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้ใช้ระบบการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ กับเด็กระดับปฐมวัย ซึ่งเป็นการศึกษาที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง

รวมการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายครอบคลุมไปจนถึงระดับมัธยมศึกษา ทั้งการเรียนรู้ด้วยภาระงานเป็นฐาน หรือ Task-Based Learning การจัดการเรียนรู้แบบทำโครงงาน (Project-Based Learning) หรือพีบีแอล ที่ใช้โครงการเป็นฐานในการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และยังมีระบบดีไอ ที่เป็นการสอนในชั้นเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่ครูจะออกแบบกิจกรรมและใบงานให้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนในแต่ละกลุ่มคำพูดจาก ทดลองสล็อต pg

ปั้นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง

รวมไปถึงหลักสูตร “ทวิศึกษา” ที่ใครต้องการเรียนสายวิชาชีพควบคู่กันไปกับสายวิชาการ ก็จะได้รับรองวุฒิทั้งระดับ ม.6 และระดับ ปวช. และการจัดการเรียนรู้พื้นฐานและทักษะอาชีพ (Vocational Learning) ที่สอดคล้องกับความต้องการ เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่ พร้อมก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันชีวิต ปั้นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง สามารถนำชาวบ้านพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของตนเองต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ช่วยเขา ให้เขาช่วยตัวเอง

“จาก 8 โรงเรียนนำร่องในพื้นที่ดอยตุง ครอบคลุม 24 หมู่บ้าน ตั้งแต่อนุบาลถึง ม.6 วันนี้สามารถขับเคลื่อนไปได้ 53 ศูนย์เด็กเล็ก และ 37 โรงเรียน ใน 95 ห้องเรียนในระดับ ป.1-ป.3 ในพื้นที่ห่างไกลออกไป รวมไปถึงการฝึกอาชีพให้กับคนในชุมชน เพื่อไม่ให้ทิ้งถิ่นฐาน ดอยตุงได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2529 เพื่อผลักดันให้บรรดาเด็ก ๆ ชาติพันธุ์ ในเขตดอยตุง ต้องอ่านภาษาไทยและเขียนภาษาไทยได้ทุกคน ทั้งหมดก็เพื่อสนองพระราชปณิธานของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่ทรงห่วงใยเรื่องการศึกษาภาษาไทยของเยาวชนในพื้นที่ และยังเป็นไปตามหลักคำสอนของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ที่ว่า ช่วยเขา…ให้เขาช่วยตัวเอง”

ม.ล.ดิศปนัดดา ย้ำถึงเป้าหมายว่า แม้เรื่องของการพัฒนาการศึกษาเข้ารูปเข้ารอยไปด้วยดีแล้ว แต่การที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เป็นองค์กรเพื่อสังคม จึงต้องคำนึงถึงภาพใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงรายได้เป็นหลัก แต่ต้องสร้างอิมแพ็คให้ได้มากที่สุด แม้หนึ่งในนั้นจะเป็นกำไร แต่กำไรก็ไม่ใช่ทุกอย่าง จากสถานการณ์โควิด ได้พบกับอะไรมากมาย โดยเฉพาะ…ความไม่แน่นอนทางธุรกิจ ความไม่เข้มแข็งขององค์กรถูกเปิดเผย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ มีการเปลี่ยนแปลงการทำงาน หลายเรื่องต้องมองไปข้างหน้ามาก ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ก้าวให้ทันโลก

เดินหน้า 5 ธุรกิจต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามธุรกิจหลักทั้ง 5 ขององค์กร ก็ยังคงอยู่ ทั้งหัตถกรรม เกษตร อาหารแปรรูป คาเฟ่ และท่องเที่ยว ที่ทุกวันนี้ก็มีคนอยากเป็นเจ้าของกิจการมากขึ้น ขณะที่เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การใช้แรงงานมากคงไม่ได้ ต้องหันมาปลูกพืชที่มีมูลค่าเพิ่มอย่าง “วานิลลา” ที่คนชราสามารถทำได้ ถูกจริตของสังคมโดยตรง การมีธุรกิจชุมชนอย่าง “หมูดำ ดอยตุง” ที่ทุกวันนี้มีโรงจัดการ มีการแปรรูป เช่นไส้กรอกหมูดำ ชาบูหมูดำสไลด์ ทั้งหมดก็เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับชุมชน ไม่ใช่สร้างให้กับดอยตุง โดยในอนาคตทุกธุรกิจที่ทำอยู่ จะมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ต้องมีกำไรทุกธุรกิจ บางธุรกิจสร้างกำไรมีรายได้ บางธุรกิจก็ต้องจงใจให้ขาดทุนเพื่อหล่อเลี้ยงผู้คน ปล่อยให้ขาดทุนเพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้

เดอะแบก-ซูเปอร์แบก

“การทำงานของแม่ฟ้าหลวงฯ จากนี้ ต้องมีการจัดการธุรกิจที่แตกต่างกัน ต้องดูว่าแต่ละธุรกิจจะดำเนินการอย่างไร ธุรกิจใดเป็น เดอะแบก ธุรกิจใดเป็นซูเปอร์แบก เช่น ธุรกิจอาหาร กาแฟ ถือเป็นเดอะแบก เพราะสร้างกำไรได้ ขณะที่หัตถกรรม สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ทำธุรกิจได้ไม่ต้องมีกำไรมาก ส่วนเกษตร ยังต้องทำ เพราะเป็นเรื่องช่วยเหลือคน ขณะที่ท่องเที่ยวก็เป็นไปตามฤดูกาล ขึ้น ๆ ลง ๆ เช่นเดียวกับเรื่องของการคาร์บอนเครดิต ที่เป็นเดอะแบกสำคัญ และไม่ใช่เพียงแค่คาร์บอนฯ เท่านั้น แต่เวลานี้โลกกำลังไปไกลถึงเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ (biodiversity) ที่แม่ฟ้าหลวงฯ มีข้อมูลอย่างดีอยู่แล้ว”

ม.ล.ดิศปนัดดา ทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ทั้งหมด…คือภารกิจ…คืองานหนักที่ต้องคิดต้องทำอยู่ตลอด เพราะแม่ฟ้าหลวงฯ และดอยตุง เลี้ยงคนจำนวนมาก เรามีดาวเหนือที่ชัดเจนว่าจะเดินต่ออย่างไร แต่ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงได้ตลอด เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ แต่หัวใจสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรเพื่อไปหาดาวเหนือได้ ก็ต้องมีความคล่องตัวในการทำธุรกิจ ต้องพลิกแพลงได้เร็วถึงอยู่รอด ตอนนี้พยายามฟังข้อมูลจากคนอื่นให้มากขึ้น พยายามทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร มีความรับผิดชอบ สร้างการมีส่วนร่วม วางแผนข้อมูลให้แม่นยำ

ตามกลยุทธ์ที่ว่า ทุกคนต้องไปกินอาหารจานโปรดที่ปลายทางให้ได้ทุกคน เพราะตอนนี้ตัวเองอายุ 50 ปีแล้ว อยากทำงานอีก 5 ปี แล้วถอยออกไป จึงอยากให้แม่ฟ้าหลวงฯ หรือโครงการดอยตุงอยู่ได้โดยไม่ต้องมี “ดิศกุล” ซึ่ง…ทุกวันนี้ทุกอย่างพิสูจน์ให้เห็นแล้ว!!

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin